Doing business with compassion for the development of civilisation in harmony with nature.
 
TH B.Grimm Group

ประวัติของบี.กริม

2421
2421

ห้างขายยาสยามดิสเพนซารี่, กรุงเทพฯ

2433
2433

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ เสด็จประทับ​ ณ ศาลาว่าการเมืองธัญญบุรี ซึ่งอยู่ติดกับบริเวณวัดมูลจินดาราม ซึ่ง แอร์วิน มูลเลอร์ และ แบร์นฮาร์ด กริม สร้างถวาย

2433
2433

บี.กริม และตระกูลสนิทวงศ์ เป็นผู้ได้รับสัมปทานขุดคลองรังสิต ซึ่งในยุคนั้นถือเป็นระบบชลประทานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

2455
2455

ห้างบี.กริม ณ ประตูสามยอด

2470
2470

อดอล์ฟ และ เฮอร์เบิร์ต ลิงค์ ณ พื้นที่ก่อสร้างระบบโทรเลข ที่บริษัทบี.กริม เป็นผู้ก่อสร้างและดำเนินงาน

2474
2474

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร และอดอล์ฟ ลิงค์​ ขณะทำการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศเยอรมณีและสยามประเทศเป็นครั้งแรก ด้วยระบบที่ติดตั้งโดยบริษัทบี.กริม

2503
2503

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปประเทศเยอรมันนี และได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยม ดร.เกฮาร์ด ลิงค์ กงศุลประจำเมืองฮัมบูร์ก

2512
2512

คุณหญิงอัลม่า และ เฮอร์เบิร์ต ลิงค์ สร้างโรงเรียน อ.ฮ. ลิงค์ ที่จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนที่อยู่ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

2518
2518

อัลม่า ลิงค์ สตรีชาวต่างชาติคนแรกที่ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นคุณหญิง เนื่องจากาอุทิศตนทำงานเพื่อสังคมอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยมาโดยตลอดตั้งแต่มาอยู่ในประเทศไทย

2537
2537

ฮาราลด์ ลิงค์ ในงานเซ็นสัญญาระหว่างบริษัทบี.กริม บริษัทซีเมนส์ และบริษัทอิตัล-ไทย ในโครงการก่อสร้างและวางระบบ โครงการรถไฟฟ้า BTS

2539
2539

ดร.เฮลมุท โคห์ล ร่วมเป็นสักขีพยานในงานลงนามข้อตกลงซื้อโรงงานขายไฟฟ้าแห่งแรกของ บี.กริม เพาเวอร์

เริ่มต้นบุกเบิก

ในปี พ.ศ.2421 หรือ ค.ศ. 1878 ชาวยุโรปสองท่าน ท่านแรกเป็นเภสัชกรชาวเยอรมันชื่อ แบร์นฮาร์ด กริม อีกท่านเป็นหุ้นส่วนชาวออสเตรียชื่อ แอร์วิน มุลเลอร์ ได้เดินทางมายังประเทศไทยและก่อตั้งห้างจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมและเคมีภัณฑ์ขึ้นที่ถนนโอเรียนเต็ล  ห้างนี้ชื่อว่าสยามดิสเป็นซารี่ ถือเป็นร้านยาในรูปแบบแพทย์สมัยใหม่แห่งแรกในประเทศไทย ด้วยความรู้ ความสามารถและความชำนาญในวิชาชีพของบุคคลทั้งสอง จึงทำให้เป็นที่รู้จักและได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เภสัชกรหลวงแห่งราชสำนักไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5

เติบโต ขยายกิจการอันหลากหลาย

ในปีพ.ศ. 2446 หลังจากรัชกาลที่ 5 เสด็จกลับจากประพาสยุโรป พระองค์ทรงนำความเจริญด้านต่างๆจากยุโรปเข้ามาพัฒนาประเทศไทย ห้างสยามดิสเป็นซารี่ ได้รับเภสัชกรชาวเยอรมัน นายอดอล์ฟ ลิงค์ ผู้มีความมุ่งมั่นแข็งขันเข้ามาร่วมงาน และขยายกิจการใหญ่โตขึ้น

สงครามโลก ยุคเศรษฐกิจตกต่ำ

ขณะที่ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่นนั้น สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ปะทุขึ้น คนเยอรมันตกเป็นเชลยของรัฐบาลอังกฤษ ทำให้บริษัทบี.กริมซึ่งเป็นบริษัทของคนเยอรมันตกอยู่ในสถานะลำบาก นายอดอล์ฟ ลิงค์และภรรยา นางเออร์ม่า พร้อมทั้งบุตรชายทั้งสอง คือ นายเฮอร์เบิร์ตและดร.เกฮาร์ด ถูกส่งไปค่ายกักกันในประเทศอินเดีย อย่างไรก็ตามครอบครัวลิงค์ยังคงเชื่อมั่นว่าคนไทยเข้าใจความตั้งใจอันดีในการดำเนินธุรกิจและยังให้โอกาสในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยต่อ

เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ในปี พ.ศ. 2463 ครอบครัวลิงค์ จึงกลับมากรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินกิจการของบี.กริมและยังคงถวายงานรับใช้พระบรมวงศานุวงศ์อย่างต่อเนื่อง ความสัมพันธ์อันแนบแน่นนี้จะเห็นได้จากการที่พระเจ้าบรมวงษ์เธอเจ้าฟ้าภานุรังษี ประทานพระอนุญาตให้บริษัทบี.กริมตั้งสำนักงานขึ้นในเขตวังบูรพา โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดสำนักงานใหม่ขอ งบริษัทบี.กริม

บุกเบิก ริเริ่ม อีกครั้ง

นายเฮอร์เบิร์ต ลิงค์ เปิดบริษัทขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2492 ในขณะที่น้องชายซึ่งเป็นหุ้นส่วนยังคงอยู่ที่ประเทศเยอรมันนีเพื่อขยายกิจการของบี.กริมในทวีปยุโรป ต่อมา ในปี พ.ศ. 2496 นายเกฮาร์ด ลิงค์ได้รับแต่งตั้งเป็นกงสุลกิติมศักดิ์และกงสุลสามัญประจำกรุงฮัมบูร์ก ในทศวรรษต่อมา สองพี่น้องตระกูลลิงค์ได้ขยายกิจการออกไปอีก โดยตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2507 เริ่มเพิ่มแผนกที่ดูแลด้านวิศวกรรม อุปกรณ์การแพทย์ การผลิตไฟฟ้า โทรคมนาคม เครื่องปรับอากาศและ วิศวกรรมเครื่องกล ในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2510 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จเปิดอาคารสำนักงานใหม่และโกดังของบริษัทบนถนน เพชรบุรีตัดใหม่ และต่อมา ในปี พ.ศ.2518 คุณหญิง อัลม่า ลิงค์ ภรรยาของคุณเฮอร์เบิร์ต ลิงค์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งคุณหญิง โดยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงตระหนักถึงความทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจอย่างมิรู้จักเหน็ดเหนื่อยของคุณหญิงอัลม่า ลิงค์ ในการทำงานเพื่อการกุศลต่างๆด้วยจิตใจโอบอ้อมอารีมาโดยตลอด คุณหญิงอัลม่า ลิงค์เป็นสตรีต่างชาติคนแรกที่ได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งอันสูงส่งดังกล่าว

ก้าวไปข้างหน้าสู่มาตรฐานโลก พัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา กลุ่มบริษัทบีกริมภายใต้การบริหารของนาย ฮาราลด์ ลิงค์ บุตรชายของ ดร. เกฮาร์ด ลิงค์ เดินหน้าขยายกิจการไปสู่ธุรกิจด้านพลังงาน, อุตสาหกรรมการผลิตและอสังหาริมทรัพย์ และยังได้มุ่งเน้นการร่วมทุนกับบริษัทชื่อดังของโลกอีกหลายแห่ง
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 นายฮาราลด์ ลิงค์ เริ่มเข้ามาช่วยคุณลุงเฮอร์เบิร์ตดูแลกิจการในประเทศไทยที่กำลัง เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยได้เดินทางมาประเทศไทยพร้อมกับภรรยา เจ้าหญิง อัสซุนตา วอน ลิกเตนสไตน์ ถึงแม้ว่าจะเติบโตที่ประเทศเยอรมนี แต่นายฮาราลด์ ก็มีความตั้งใจที่จะสืบทอดกิจการ บี.กริม ในประเทศไทย

เมื่อโลกได้เข้าสู่กระแสโลกาภิวัฒน์  ระบบโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยอยู่ในระหว่างกำลังพัฒนา บริษัทจึงขยายตัวกว้างขึ้นไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตและระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ เราได้ร่วมทุนกับหลายบริษัท โดยทำหน้าที่ผู้จัดจำหน่าย เช่น Carrier, Siemens, Merck, Carl Zeiss, KSB, Urgo, MBM และ ผู้ผลิตรถยนต์สามล้อในปี พ.ศ. 2535 บริษัทได้สร้างโรงงานขึ้นใหม่อีกหลายแห่งและได้ก่อตั้งสำนักงานใหญ่ขึ้นใหม่ อาคารนี้ถูกสร้างขึ้นหลังจากที่ดร.เกฮาร์ด ลิงค์เสียชีวิต ในปี พ.ศ. 2538 หลังจากนั้นบริษัทบี.กริมก็ได้ขยายธุรกิจในด้านพลังงานการผลิตไบโอดีเซลและธุรกิจทางด้านไลฟ์สไตล์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 บุตรสาวของนายฮาราลด์ ลิงค์ คือ คาโรลีน ลิงค์ได้เข้ามาฝึกฝนการบริหารกิจการของครอบครัว โดยมีความมุ่งมั่นที่จะนำพา บี.กริม สู่กลุ่มบริษัทระดับโลก ที่มุ่งพัฒนาธุรกิจหลากหลายด้าน เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมในยุคดิจิตัล